ข้อมูลทางการเงินและกฎหมาย

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสกุลเงิน

แนวทางปฏิบัติสำหรับชาวต่างชาติต่อไปนี้ คือ แนวทางในการจัดหาเงินกู้เพื่อซื้อสินทรัพย์ในประเทศไทยและขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อรับเอกสารการโอนกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้อง การจำนองสำหรับชาวต่างชาตินั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยแต่สำหรับผู้ซื้อชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทางเรายินดีที่จะจัดให้มีการแนะนำตัวแทนในประเทศของธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซี แบงค์ (ยูโอบี) ที่ให้กู้ยืมแก่ชาวต่างชาติภายใต้เงื่อนไขบางประการ  ข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคารยูโอบีได้ถูกแนบมาพร้อมกับบทความนี้และทางเราขอให้ผู้สมัครสินเชื่อจำนองทุกรายตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามความต้องการของธนาคารก่อนที่การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โปรดทราบว่าข้อกำหนดในการให้บริการของยูโอบีนั้นจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นครั้งคราว โปรดแจ้งให้เราทราบหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเงินสำหรับการซื้อสินทรัพย์ในประเทศไทย ผู้ซื้อสินทรัพย์ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ในประเทศไทยต้องชำระเงินเต็มจำนวนเป็นเงินสดจากต่างประเทศและขอแนะนำว่าหากผู้ซื้อต้องการสินเชื่อเพื่อซื้อห้องชุด คุณสามารถจะขอสินเชื่อแบบมีหลักประกันก่อน

ชาวต่างชาติควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการโอนเงินเข้าประเทศไทยเพื่อซื้อห้องชุด และควรติดตามทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน โปรดดูคำแนะนำของเราด้านล่างและติดต่อเราได้ทันทีหากคุณต้องการคำชี้แจงใด ๆ เรายินดีพร้อมให้คำปรึกษา

  1. สกุลเงิน: สามารถใช้เงินตราต่างประเทศในการซื้อห้องชุดได้ สกุลเงินต่างประเทศต้องโอนเข้ามาในประเทศไทยเป็นสกุลเงินต่างประเทศและแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทโดยธนาคารในประเทศ
  2. เอกสารประกอบการซื้อห้องชุด: สำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์ซื้อห้องชุดในประเทศไทยจะต้องแสดงหลักฐานต่อกรมที่ดินว่าได้มีการโอนเงินจากต่างประเทศในสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อได้รับการร้องขอธนาคารของผู้ขายจะออกหนังสือรับรองการโอนเงิน หากไม่มีหลักฐานดังกล่าว กรมที่ดินจะไม่สามารถจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อชาวต่างชาติได้
  3. การโอนเงินจากต่างประเทศจะต้องใช้ชื่อเดียวกับที่ปรากฏในสัญญาซื้อขาย (ถูกต้องทุกตัวอักษร) ถ้าผู้ซื้อเป็นบุคคลสองราย ชื่อทั้งสองควรปรากฏในสัญญาและควรมีการโอนเงินโดยบุคคลทั้งสองคนดังกล่าวด้วยจำนวนคนละเท่ากัน
  4. การโอนเงินต้องทำในสกุลเงินต่างประเทศเท่านั้นและไม่ใช่สกุลเงินไทยบาท เช่น ถ้าคุณใช้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้อง  โอนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ไม่สามารถโอนเงินเป็นเงินบาทได้
  5. ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการโอนเงินไว้ในคำแนะนำการโอนเงินซึ่งระบุว่า "สำหรับการซื้อห้องชุด, ห้อง #" ในอาคาร __ของโครงการ ____ " รหัสการทำธุรกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทยคือ 381069
  6.  การโอนเงินให้เจ้าของโครงการมีอยู่ 2 วิธีดังนี้ 
  • a.  การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในประเทศของผู้ซื้อในประเทศไทยตามรูปแบบที่กำหนดไว้ที่ระบุข้างต้นและโอนเงินจำนวนนี้ไปยังเจ้าของโครงการภายในประเทศ ในกรณีนี้ผู้ซื้อต้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อในท้องถิ่นของผู้ซื้อออกแบบฟอร์มธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวนเงินที่โอนควรมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อที่จะได้เป็นไปตามคุณสมบัติสำหรับแบบฟอร์มธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยอัตโนมัติ (ผู้ซื้อต้องร้องขอ (โดยแจ้งทางโทรศัพท์หรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอนของธนาคารในประเทศที่เกี่ยวข้อง) เพื่อขอรับแบบฟอร์มการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศเมื่อมีโอนเงินเรียบร้อยแล้ว ถ้าจำนวนเงินที่โอนน้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ซื้อจะต้องส่งจดหมายถึงธนาคารเพื่อให้ธนาคารส่งหนังสือรับรองวัตถุประสงค์ในการโอนเงินเพื่อซื้อห้องชุดกลับไปยังผู้ซื้อ ในทำนองเดียวกันทั้งแบบฟอร์มการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศหรือจดหมายจากธนาคารสามารถใช้เป็นหลักฐานการโอนเงินที่ต้องแสดงต่อกรมที่ดิน ทั้งนี้หากไม่มีแบบฟอร์มการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศหรือจดหมายธนาคาร กรมที่ดินจะไม่จดทะเบียนการโอนห้องชุดให้เป็นชื่อของคุณ

 

  • b. การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเจ้าของโครงการเลย กรณีนี้เจ้าของโครงการจะมีหน้าที่ช่วยดูแลเรื่องการจัดเตรียมแบบฟอร์มธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะดำเนินการโดยธนาคารของเจ้าของโครงการ